“การเก็บขยะ” ด่านแรกสู่ชุมชนปลอดขยะ

by Seema on 12/05/2021 No comments

เขียนโดย ซีมา พราบู, ผู้อำนวยการโครงการของแทรชฮีโร่เวิลด์

การเคลื่อนไหวของแทรชฮีโร่ แสดงให้เห็นว่า การเก็บขยะในพื้นที่สาธารณะ สามารถขยายการเปลี่ยนแปลงในสังคมได้

อาสาสมัครแทรชฮีโร่ได้ทำการเก็บขยะทุกสัปดาห์มาเป็นเวลามากกว่า 7 ปีแล้ว มีกิจกรรมถึง 12,000 ครั้ง ในกว่า 170 พื้นที่ทั่วโลก และเก็บขยะได้กว่า 1,870,000 กก. จากชายหาด, ริมแม่น้ำ และพื้นที่สาธารณะอื่น ๆ

นี่เป็นตัวเลขที่น่าตกใจ ซึ่งเป็นผลจากการทุ่มเททำงานอย่างหนัก แต่มันก็เป็นเพียงหยุดน้ำในมหาสมุทร หากเทียบกับจำนวนพลาสติกที่ผู้คนทั่วโลกทิ้งในแต่ละวัน ไม่ว่าจะใช้พละกำลังคนอีกกี่ล้านเท่า เราก็ไม่มีวันแก้ปัญหามลพิษพลาสติกนี้ได้ ด้วยแค่เพียงการเก็บขยะ เราต้องป้องกัน หยุดปัญหาที่ต้นเหตุด้วย แล้วทำไมเราจึงเลือกหนทางนี้ล่ะ?

ฮีโร่ มูบา, อินโดนีเซีย

คำตอบก็คือ เพื่อจะหยุดปัญหาที่ต้นตอ คุณต้องเห็นก่อนว่าปัญหามันร้ายแรงขนาดไหน ในประสบการณ์ของเรา การเก็บขยะเป็นเรื่องง่าย ทำให้ผู้คนได้เข้าถึงและเข้าใจปัญหาแรกเมื่อเราพึ่งพาพลาสติกมากเกินไป ทำให้ผู้คนรวมตัว รวมพลัง และแรงผลักดันสำคัญอื่น ๆ เพื่อที่จะ “ทำอะไรสักอย่าง”

แรงผลักดันนี้เมื่อส่งสารด้านบวก ก็จะเกิดประโยชน์ในการเปลี่ยนพฤติกรรม หรือหากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากได้ ก็สามารถนำไปใช้ในการกระตุ้นนโยบายได้อีกด้วย เช่นในโครงการแบรนด์ออดิทขององค์กร Break Free From Plastic

แทรชฮีโร่เลมบาตา, อินโดนีเซีย ทำแบรนด์ออดิทในเดือนกันยายน 2563

>กุญแจสำคัญก็คือให้กลุ่มอาสาสมัครในชุมชนที่มีอิสระ จัดการเก็บขยะเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรือการเมืองใด กลุ่มสาขาของเราสามารถรับการสนับสนุนของใช้ในการเก็บขยะ และมีคนใหม่ ๆ เข้ามาเป็นอาสาสมัครอยู่เรื่อย ๆ จนกลายเป็นกิจกรรมประจำสัปดาห์ของชุมชน และเกิดการพูดคุยกันในท้องถิ่นเกี่ยวกับการจัดการขยะและการใช้ซ้ำ

การจัดกิจกรรมแบบนี้ ทำให้การเก็บขยะช่วยเปิดประตูสู่การปฏิบัติเพื่อความยั่งยืนในชุมชน เมื่อกลุ่มสาขาแทรชฮีโร่เป็นที่ยอมรับและเชื่อถือในชุมชน อาสาสมัครของเราก็มักได้รับเชิญให้ไปพูดคุยกับผู้นำชุมชน หรือด้วยแรงขับในชุมชนก็อาจทำให้มีพลังในการริเริ่มโครงการที่ใหญ่กว่าขึ้นได้

คำอธิบายภาพ [l-r] : แทรชฮีโร่แอนเด, อินโดนีเซีย ช่วยโรงเรียนในท้องถิ่นติดตั้งโครงการเติมน้ำดื่ม ; แทรชฮีโร่หลังสวน, ประเทศไทย ทำงานร่วมกับวัดในโครงการปลอดขยะ โดยเริ่มต้นจากการหมักปุ๋ย ; แทรชฮีโร่เกาะช้าง, ประเทศไทย ได้รับเชิญไปให้ความรู้ในโครงการคัดแยกขยะในครัวเรือน

จากภาพที่เกิดขึ้นในใจนี้ ทำให้เราได้เริ่มจัดการอบรม “แทรชฮีโร่ชุมชนปลอดขยะ” ขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในช่วงปลายปี 2563 เพราะอาสาสมัครของเราส่วนมาก เป็นแค่คนทั่วไปที่อยากสร้างความเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ผู้มีความเชี่ยวชาญ แต่เราต้องการให้พวกเขามีอาวุธเป็นความรู้และทักษะที่มากพอในการนำทางให้ชุมชนพ้นจากหนทางเท็จ ไปสู่ระบบปลอดขยะอย่างแท้จริง

จากแนวคิดที่พัฒนาโดยมูลนิธิ Let’s Do It และดำเนินงานโดยผู้ให้ความรู้หลายท่าน การอบรมครั้งแรกมีผู้เชี่ยวชาญจากองค์กร Break Free From Plastic, Zero Waste Europe, GAIA เอเชีย-แปซีฟิก และ YPBB ร่วมด้วยนักวิชาการชั้นนำในท้องถิ่น

เราเชื่อมต่อพวกเขากับกลุ่มอาสาสมัครในไทย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย และด้วยสถานการณ์ไวรัสโควิด ทำให้การอบรมต้องจัดขึ้นแบบออนไลน์ เป็นเวลา 2 วัน ในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน และให้ความรู้กับผู้เข้าอบรมในเรื่อง

  • หลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การตรวจสอบขยะในชุมชน
  • สร้างทักษะในการโต้แย้งอย่างน่าเชื่อถือในเรื่องระบบปลอดขยะ (ภาพรวมของหนทางเท็จและการฟอกเขียว)
  • ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงของโครงการปลอดขยะในเอเชีย

และยังมีการทำงานกลุ่มและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย

ความคิดเรื่องระบบปลอดขยะยังเป็นเรื่องใหม่ในประเทศเหล่านี้ ดังนั้นการอบรมทั้งหมดจึงใช้ภาษาท้องถิ่น โดยผ่านการแปล นี่ทำให้หัวข้อที่ซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายขึ้น และประยุกต์ใช้กับบริบทของวัฒนธรรมท้องถิ่นได้

โดยสรุป มีผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 81 คน ในจำนวนนี้ 70 คนเข้าร่วมครบทั้งสองวัน และ 51 คนได้เข้ารับการติดตามผล และได้ประกาศนียบัตรในฐานะผู้ฝึกฝนระบบปลอดขยะ (ระดับพื้นฐาน)

มาเรีย เธเรเซีย วิลบรอดา เป็นอาสาสมัครแทรชฮีโร่ที่ทำงานอยู่ในชุมชนเลโวเลบา บนเกาะเลสเซอร์ ซันดา ประเทศอินโดนีเซีย เธอมักจะเข้าไปพูดคุยเรื่องการลดและคัดแยกขยะในกลุ่มเพื่อนบ้านและโรงเรียนต่าง ๆ อยู่เป็นประจำ “จากการอบรมนี้ทำให้ฉันมีแรงใจและรู้สึกรับผิดชอบมากขึ้นทุกครั้งที่ออกไปเก็บขยะ แล้วยังได้ทำให้เข้าใจความหมายของซีโร่เวสต์มากขึ้นด้วย ซึ่งสำคัญมาก เพราะมันมีอิทธิพลต่อชีวิตในแต่ละวันของฉัน”

ศุภวัฒน์ ชื่นจันทร์ (พี่ตุ้ม) ผู้นำกลุ่มแทรชฮีโร่ชุมพร กลุ่มที่ประสบความสำเร็จอย่างมากกับโครงการให้ความรู้แก่เด็ก ๆ และช่วยให้หลายโรงเรียนเป็นโรงเรียนปลอดขยะ เขายังจัดโครงการ “พี่ส่งต่อน้อง” รับบริจาคเสื้อผ้าและของเล่นมือสองมอบต่อให้กับเด็ก ๆ ที่ขาดแคลน พี่ตุ้มพูดถึงการอบรมไว้ว่า “เป็นกิจกรรมที่ดีมาก มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ การแลกเปลี่ยนความรู้ ดีที่ได้เรียนรู้ความสำเร็จของพื้นที่อื่น ๆ และดูว่าจะเอามาปรับใช้กับพื้นที่ของเราอย่างไร”

พวกเราทุกคนต่างก็รู้สึกตื่นเต้นกับการก้าวเดินไปสู่อีกขั้นของการอบรมที่จะจัดขึ้นในปีนี้ วางแผนโครงการริเริ่มที่เป็นรูปธรรมและชักชวนผู้คนให้เข้าร่วมมากขึ้น

ปัญหาของมลพิษพลาสติกเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและมีหลายแง่มุม และไม่สามารถแก้ไขได้เพียงแค่ลงมือทำสิ่งใดอย่างเดียว ด้วยประสิทธิภาพในการเก็บข้อมูลของ BFFP โครงการเล็ก ๆ นี้แสดงให้เห็นว่า เราสามารถต่อจิ๊กซอว์แต่ละชิ้นเข้าด้วยกัน เพื่อความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่และยาวนานกว่าได้อย่างไร

ดูเนื้อหาการอบรมโดย ดร.เอ็นโซ ฟาโวอิโน (Zero Waste Europe) และมิโก อลิโน (GAIA Asia-Pacific) ร่วมด้วย ดร.ปเนต มโนมัยวิบูลย์ และ ดร.ณัฐพงษ์ นิธิอุทัย

สนใจอยากเป็นส่วนหนึ่งของแทรชฮีโร่ไหม?

➡️ เข้าร่วมกิจกรรมเก็บขยะ

➡️ สร้างกลุ่มสาขาใหม่ของแทรชฮีโร่

– ซีมา พราบู ผู้อำนวยการโครงการของแทรชฮีโร่เวิลด์ เธอเริ่มต้นวิถีปลอดขยะด้วยการจัดโครงการทำความสะอาดชายหาดในประเทศไทย
แทรชฮีโร่เป็นการเคลื่อนไหวด้วยอาสาสมัครจากทั่วโลก ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชน สร้างแรงบันดาลใจ และสนับสนุนพวกเขาให้ช่วยกันทำความสะอาดและหลีกเลี่ยงขยะพลาสติก
แทรชฮีโร่เป็นสมาชิกหลักของ Break Free From Plastic ตั้งแต่ปี 2559

 

read more
Seema“การเก็บขยะ” ด่านแรกสู่ชุมชนปลอดขยะ

Transforming trash into merit at a Thai temple

by Seema on 19/07/2019 No comments

Our Trash Hero chapter in Langsuan, Chumphon Province, Thailand, has come up with an ingenious scheme to motivate local residents to separate and recycle their waste.

In an area with no waste management infrastructure – not even basic garbage collection – most households either dump or openly burn their trash, as they have done for generations. The difference, of course, is that 20 – 30 years ago, the waste was mainly biodegradable. Now, the majority is toxic plastic.

Working together with sub-district adminstrations; local schools; hospitals; private sector representatives; and a local temple, our Trash Hero volunteers created a “waste bank” scheme, launched at an official ceremony on 24 June 2019.

Communal life in this mainly rural area is focused around Wat Ratchaburana, a royal monastery in Tha Maphla sub-district. So the headquarters of the “waste bank” is located here. With the support of the Abbot and the resident monks, the local villagers can bring their separated waste to the temple, or to 9 other collection points – one in each village in the district. Organic waste will be used to make biogas and fertiliser; cleaned plastic will be recycled, with all proceeds going to the temple.

A typical “waste bank”, such as those found in Indonesia, incentivises recycling through personal financial gain. People are encouraged to make “deposits” of their recyclable waste at a central location. Each type of waste carries a market value and is exchanged for a fixed rate. The waste bank administration then sells this trash on to local recyclers and places the income received (minus a small admin fee for running costs) into each person’s account. Records are kept in a “bank book” and withdrawals are allowed at any time.

In Langsuan, this concept has been taken and combined with the Thai Buddhist tradition of “merit-making“. One of the most basic ways to accumulate merit in this culture is to practice almsgiving to local monks. This involves making regular monetary or in-kind donations of food, clothing or household goods. Villagers can now instead donate their trash, and gain the same merit: the slogan of the Langsuan scheme, roughly translated from the Thai, is “Transform a pile of trash into a pile of merit”.

This is a very powerful association, providing an incentive to recycle that goes well beyond the monetary value of the waste. Recycling becomes not just a source of income that can be donated to the temple; but a source of good karma, a virtuous deed that will lead to a better next life for the donors and their families.

In addition, the “deposit days”, on which the bank is open for business, are on the Buddhist holy days, when it is customary to make a special offering to the temple. To make the link even clearer, the name has been changed from “waste bank” to “merit bank” (Thai: ธนาคารบุญ / thanakhan buh!n).

The poster above explains the scheme and shows the nine village collection points

Suttipun Suwanbundit, the leader of Trash Hero Langsuan, explained: “the heart of the issue we have here is that people simply will not separate their waste. It is mixed all together – rotting food and recyclable waste – which makes it impossible to do anything with. The use of law or fines is just not effective for Thai people. There have been big campaigns but then after the initial fuss, people would quietly go back to their old habits. We needed a continuous solution and one that showed people a clear benefit in waste separation, which would give them a reason to do it long term.”

Alongside the merit bank, Trash Hero Langsuan volunteers, in conjunction with the temple and related government departments, will be holding education sessions for local residents on how to reduce waste, in particular plastic. With the endorsement of the Abbot, who carries great authority in these deeply religious rural communities, the scheme has already seen a large uptake.

Trash Hero Langsuan is grateful for the cooperation and support of the District Health Committee, Quality of Life Development Committee, Waste Management Commmittee and all other stakeholders that enabled the project to come to life.

read more
SeemaTransforming trash into merit at a Thai temple